visatogo

จดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส 2024

จดทะเบียนสมรสชาวฝรั่งเศส 2024

 จดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส 2024

Marriage Registration in Thailand

จดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส สถานทูต ฝรั่งเศส ประจำประเทศไทย

จดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศส 2024 ต้องทำการ ยื่นนขอใบ CCAM ( Certificat de Capacité à Mariage) ที่สถานทูตฝรั่งเศส  แนะนำให้จองคิว Online กับสถานทูตก่อนเดินทางมาประเทศไทย โดยคู่สมรสชาวฝรั่งเศสต้องเตรียม

  1. แบบฟอร์ม Attestation Sur L’ Honneur 
  2. แบบฟอร์ม Futur(e) conjoint(e) de nationalité française + Futur(e) conjoint(e) de nationalité thaïlandaise  + Questionnaire commun
  3. แบบฟอร์ม DEMANDE D’ENVOI du CCAM 
  4. แบบฟอร์ม demande d’envoi แบบฟอร์ม Mariage Transcription

ก่อนเข้าสถานทูต ในวันนัดหมาย คู่สมรสชาวฝรั่งเศสและชาวไทย ต้องเข้าสถานทูตเพื่อไปขอใบCCAM (Certificat de Capacité à Mariage) สถานทูตพิจารณาประมาณ 1-2เดือน คู่หมั้นชาวฝรั่งเศส เดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส หรือ รอที่ประเทศไทยได้  เมื่อได้รับ ใบ CCAM (Certificat de Capacité à Mariage)  พร้อมด้วย ฟอร์มAttestation Sur L’ Honneur หนังสือเดินทาง  คู่สมรสชาวฝรั่งเศส  สถานทูตรับรอง ทั้งหมด นำไปแปลรับรองกงสุลไทย  เพื่อนำไปประกอบการจดทะเบียนสมรส ยังเขตสำนักงาน พร้อมกับเอกสาร คู่สมรสคนไทย  พร้อมล่ามและพยาน ในการจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต

หลังจากที่จดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตแล้ว นำใบ คร.2ไปรับรองกงสุลไทย แล้วนำไปแปลภาษาฝรั่งเศส เพื่อยื่นเข้าสถานทูตฝรั่งเศสอีกครั้ง

คุณสมบัติผู้จดทะเบียนสมรสในประเทศไทย

  • ชายหรือหญิงชาวไทยและคู่สมรสชาวต่างชาติ มีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ทําการสมรสก่อนที่ชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ได้ (มาตรา 1448)
  •  ชายหรือหญิงชาวไทยและคู่สมรสชาวต่างชาติ ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ (มาตรา 1449)
  • ชายหรือหญิงชาวไทยและคู่สมรสชาวต่างชาติ จะทําการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้ (มาตรา 1452)
  • หญิงชาวไทย ที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทําการสมรสใหม่ ได้ต่อเมื่อสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน เว้นแต่ (มาตรา 1453)
  • คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
  • สมรสกับคู่สมรสเดิม
  • มีใบรับรองแพทย์ ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ รักษาโรคในสาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์
  • มีคําสั่งของศาลให้สมรสได้
  • ผู้หากเป็นเยาว์ชาวไทยจะทําการสมรสต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีอํานาจให้ความยินยอมได้ตามกฎหมาย (มาตรา 1454)

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนสมรสเบื้องต้น

1.ฝ่ายชาวฝรั่งเศส

  • หนังสือเดินทาง,
  • ใบหย่าตัวจริง (ถ้ามี)
  • ใบรับรองโสด (ต้องขอจาก City Hall)

2.ฝ่ายชาวไทย

  • บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวอื่นที่ราชการออกให้/หนังสือเดินทาง/ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว/หรือเอกสารราชการอื่นที่สามารถใช้แสดงตัวบุคคลได้ ของผู้ร้อง ผู้ให้ความยินยอม (ถ้ามี) และพยาน (กรณีเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศต้องผ่านการรับรองนิติกรณ์โดยกรมการกงสุล กต.)
  • หนังสือรับรองสถานภาพการสมรส (กรณีบุคคลสัญชาติอื่น ผ่านการรับรองนิติกรณ์โดยกรมการกงสุล กต.)
  • หนังสือยินยอม (กรณีผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ได้)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายเฉพาะสำนักทะเบียนที่ตนเองมีชื่อในทะเบียนบ้าน หรือฝ่ายหญิงเปลี่ยนคำหน้านาม)
  • พยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อรับรู้ในเรื่องความสมัครใจยินยอมของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงในการจดทะเบียนสมรส

หมายเหตุ (Visatogo บริการล่ามและพยาน ในวันจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขต/อำเภอ) * เป็นไปตามเงื่อนไขบริการ

คำนำหน้าชื่อหญิงไทยหลังการสมรส

หญิงไทยที่จดทะเบียนสมรสแล้ว จะสามารถใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย (เจ้าหน้าที่กงสุล) ทั้งนี้ เป็นไปตามความในพระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ย้อนหลังไปถึงหญิงทุกคนที่จดทะเบียนสมรสก่อนวันที่พระราชบัญญัติฯ มีผลบังคับใช้ โดยนายทะเบียนจะบันทึกเพิ่มเติมในหน้าบันทึกของทะเบียนสมรสระบุว่า ฝ่ายหญิงมีความประสงค์จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว”

การใช้ชื่อสกุลหลังการสมรส  (เป็นไปตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2548)

คู่สมรสสามารถใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นชื่อรองได้เมื่อได้รับความยินยอมจากฝ่ายนั้นแล้ว (ไม่สามารถรวมชื่อสกุลทั้งสองเข้าด้วยกันได้)

คู่สมรสมีสิทธ์ใช้ชื่อสกุลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามที่ตกลงกัน หรือต่างฝ่ายต่างใช้ชื่อสกุลเดิมของตนได้ การตกลงดังกล่าวนี้จะกระทำเมื่อมีการสมรสหรือในระหว่างสมรสก็ได้ และคู่สมรสจะตกลงเปลี่ยนแปลงข้อความในวรรคหนึ่งภายหลังก็ได้

เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงด้วยการหย่า หรือศาลพิพาษาให้เพิกถอนการสมรส ให้ฝ่ายที่ใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

เมื่อการสมรสสิ้นสุดด้วยความตาย ให้ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่และใช้ชื่อสกุลของอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิใช้ชื่อสกุลนั้นต่อไปได้ แต่เมื่อจะสมรสใหม่ ให้กลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตน

คำถามที่พบบ่อย

ตอบ การจดทะเบียนสมรสกับชาวฝรั่งเศสในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการที่ชาวฝรั่งเศสต้องขอใบรับรองสถานภาพโสด (Certificat de Célibat) จากสถานทูตฝรั่งเศสในประเทศไทย จากนั้นนำเอกสารนี้ไปรับรองที่กรมการกงสุลหรือกระทรวงการต่างประเทศไทย เมื่อเอกสารพร้อมแล้ว ทั้งคู่สามารถยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสที่สำนักงานเขตหรืออำเภอในประเทศไทยได้

ตอบ

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย ได้แก่:

  • ใบรับรองสถานภาพโสด (Certificat de Célibat) ของชาวฝรั่งเศส
  • หนังสือเดินทางของชาวฝรั่งเศส
  • บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของคนไทย
  • ใบหย่าหรือใบมรณบัตรของคู่สมรสเดิม (ถ้ามี)
  • เอกสารบางส่วนอาจต้องแปลและรับรองโดยกรมการกงสุลหรือกระทรวงการต่างประเทศไทย

ตอบ การจดทะเบียนสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายในประเทศไทยถือว่ามีผลตามกฎหมายในฝรั่งเศสด้วยเมื่อกระบวนการทั้งหมดเสร็จสมบูรณ์ โดยคู่สมรสสามารถนำใบทะเบียนสมรสที่ได้รับในประเทศไทยไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสและยื่นขอรับรองที่หน่วยงานของฝรั่งเศส เพื่อให้สมรสได้รับการบันทึกตามกฎหมายฝรั่งเศส

ตอบ หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว คู่สมรสคนไทยสามารถยื่นขอวีซ่าคู่สมรส (Long-Stay Visa for Marriage) เพื่อย้ายไปพำนักในฝรั่งเศส ต้องยื่นคำร้องที่สถานทูตฝรั่งเศสพร้อมเอกสาร เช่น ใบทะเบียนสมรส, หลักฐานการเงิน, และหลักฐานการพำนักในฝรั่งเศสของคู่สมรสชาวฝรั่งเศส

ตอบ หลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว คู่สมรสคนไทยสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนนามสกุลในเอกสารทางการ เช่น บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน โดยนำใบทะเบียนสมรสไปยื่นที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการปรับปรุงข้อมูล

แพ็คเกจการให้บริการ Visatogo

รายการการทำงาน

  1.  รายการเอกสารมาตรฐาน
  2.  กรอกฟอร์ม – จัดเอกสาร
  3.  นัดหมายวันยื่นแบบฟอร์มกับทางสถานทูต

ไม่รวมบริการ

แปลเอกสาร, บริการขอหนังสือรับรองความประพฤติ, บริการตรวจสุขภาพ,ค่าธรรมเนียมรับรองเอกสาร์, เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกวันยื่น-รับเล่ม, ค่าจัดส่งเอกสาร์,ประกันการเดินทาง และค่าธรรมเนียมสถานทูต

รายการการทำงาน

  1. รายการเอกสาร Exclusive
  2. กรอกฟอร์ม-จัดเตรียมเอกสาร
  3. นัดหมายวันยื่นแบบฟอร์มกับทางสถานทูต
  4. บริการขอหนังสือรับรองความประพฤติ
  5. เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในวันตร่วจสุขภาพ
  6. แปลเอกสารทุกรายการที่ใช้ยื่นสถานทูต (ไทย-อังกฤษ)
  7. เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกวันยื่น-รับเล่ม

ไม่รวมบริการ 

 ค่ารรรมเนียมหนังสือรับรองความประพฤติ, ค่าบริการตรวจสุขภาพ,ค่ารธรรมนียมรับรองเอกสาร, ค่าจัดส่งเอกสาร, ประกันการเดินทาง และค่าธร่รมเนียมสถานทูต

รายการการทำงาน

  1. วิเคราะห์เคส Exclusive
  2. รายการเอกสาร Exclusive
  3. กรอกฟอร์ม-จัดเตรียมเอกสาร
  4. นัดหมายวันยื่นแบบฟอร์มกับทางสถานทูต
  5.  บริการขอหนังสือรับรองความประพฤติ
  6. เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในวันตรวจสุขภาพ
  7. แปลเอกสารทุกรายการที่ใช้ยื่นสถานทูต (ไทย-อังกฤษ)
  8. จดหมายแนะน้ำตัว และบริการซ้อมสัมภาษณ์สร้างความมั่นใจในการตอบคำถามสถานทูต
  9. เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกวันยื่น-รับเล่ม
  10. บริการยื่นรอบ 2 ฟรี ในกรณียื่นครั้งแรกไม่ผ่าน

ไม่รวมค่าบริการ

ไม่รวมบริการ : ค่ารรรมนียมหนังสือรับรองความประพฤติ, ค่าบริการตรวจสุขภาพ,ค่าธรรมเนียมรับรองเอกสาร, ค่าจัดส่งเอกสาร, ประกันการเดินทาง และค่าธร่รมเนียมสถานทูต

รายการการทำงาน

  1. รายการเอกสาร Exclusive
  2. นัดหมายกงสุล/สถานทูต
  3. เจ้าหน้าที่อำนวย ยความสะดวกวันขอใบรับรองโสดที่สถานทูต
  4. บริการรับรองเอกสารกงสุล
  5. เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดว วกวันจดทะเบียน
  6. สมรสที่สำนักงานเขต พร้อมล่ามและพยาน

ไม่รวมบริการ : กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่

รายการการทำงาน

  1. วิเคราะห์เคส Exclusive
  2. รายการเอกสาร Exclusive
  3. กรอกฟอร์ม-จัดเตรียมเอกสาร
  4. นัดหมายวันยื่นแบบฟอร์มกับทางสถานทูต
  5. บริการขอหนังสือรับรองความประพฤติ
  6. เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในวันตรวจสุขภาพ
  7. แปลเอกสารทุกรายการที่ใช้ยื่นสถานทูต (ไทย-อังกฤษ)
  8. จดหมายแนะนำตัว และบริการซ้อมสัมภาษณ์
  9. เจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกวันยื่น-รับเล่ม
  10. บริการยื่นรอบ 2 ฟรีกรณียื่นครั้งแรกไม่ผ่าน

ไม่รวมบริการ : กรุณาสอบถามเจ้าหน้าที่

ขั้นตอนการทำงาน Visatogo

ขั้นตอนการทำงาน visatogo