พาสปอร์ตไทยแต่ละสีต่างกันอย่างไร ?
พาสปอร์ตไทยแต่ละสีต่างกันอย่างไร? หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นเอกสารสำคัญที่ออกให้โดยรัฐบาลของแต่ละประเทศสำหรับใช้ในการเดินทางระหว่างประเทศ พาสปอร์ตเปรียบเสมือนบัตรประชาชนที่ใช้ได้ทั่วโลก มีข้อมูลสำคัญระบุตัวตนของผู้ถือ เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่เกิด รูปถ่าย ลายเซ็น ฯลฯ หน้าที่หลักของพาสปอร์ต คือ แสดงตัวตนและสัญชาติของผู้ถือ ขออนุญาตเข้า-ออกประเทศ เดินทางโดยไม่ต้องขอวีซ่าไปยังประเทศที่อยู่ในข้อตกลง ขอรับความช่วยเหลือจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ พาสปอร์ตไทยมี 4 สีหลัก แต่ละสีมีความหมายและการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้ หนังสือเดินทางธรรมดา (ปกสีเลือดหมู) สำหรับประชาชนทั่วไป อายุการใช้งาน: 5 ปี หรือ 10 ปี (เลือกได้) เดินทางโดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ 33 ประเทศ หนังสือเดินทางราชการ (ปกสีน้ำเงินเข้ม) สำหรับข้าราชการ อายุการใช้งาน: 5 ปี เดินทางโดยไม่ต้องขอวีซ่าได้ 86 ประเทศ ห้ามใช้เดินทางส่วนตัว ใช้ได้เฉพาะการเดินทางไปราชการเท่านั้น หนังสือเดินทางทูต (ปกสีแดงสด) มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้ พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ